กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis)

กระดูกสันหลังเคลื่อน (SPONDYLOLISTHESIS)

ภัยเงียบที่เราไม่รู้

โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนหมายถึงภาวะที่มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังข้อหนึ่งไปด้านหน้ามากกว่าปกติ (หรืออาจเคลื่อนมาทางด้านหลัง แต่พบได้น้อยมาก) โดยมักพบในผู้ป่วยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากเพศหญิงมีความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อเส้นเอ็นมากกว่าเพศชาย ความมั่งคงจึงน้อยกว่าจนทำให้เกิดกระดูกสันหลังเคลื่อนได้ง่าย ลักษณะการเคลื่อนสามารถแบ่งได้ 4 ระดับ คือ

ระดับที่ 1 : เคลื่อน 25%

ระดับที่ 2 : เคลื่อน 50%

ระดับที่ 3 : เคลื่อน 75%

ระดับที่ 4 : เคลื่อน 100%

ซึ่งระดับที่ 1-2 นั้นสามารถรับการรักษาให้หายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ถ้ารุนแรงถึงระดับ 3-4 โอกาสที่จะหายได้โดยการรักษาทั่วไปมักไม่ได้ผล การรักษาโดยการผ่าตัดจึงมักทำในระยะนี้

สาเหตุ

มักเกิดจากกระดูกสันหลังเสื่อมจนเกิดการทรุดตัวของหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้ข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังเกิดการอักเสบเส้นเอ็นรอบข้อหย่อน และต่อมาจึงทำให้ข้อต่อไม่มีความมั่นคง จนเกิดการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลังในที่สุด ในอีกกรณีที่พบได้เช่นกันคือ อุบัติเหตุที่มีการกระแทกต่อกระดูกสันหลัง หรือในเพศหญิงที่เคยผ่านการตั้งครรภ์ เป็นต้น

อาการ

โดยส่วนมากในระยะเริ่มแรกมักไม่มีอาการที่เด่นชัดมากนัก แต่เมื่อเป็นมากขึ้นจะเริ่มมีอาการปวดหลัง โดยปวดร้าวลงสะโพกและขาข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ถ้ากระดูกสันหลังเคลื่อนมากขึ้นจนไปกดทับเส้นประสาทจะทำให้มีอาการชา ร้าวลงขา ขาอ่อนแรง รู้สึกขาหนักๆ เดินลำบาก เป็นต้น

การรักษาทางกายภาพบำบัด

การรักษาจะใช้การกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อลดปวด ลดอาการชา การขยับข้อต่อ (mobilization), lumbar traction และที่ขาดไม่ได้ คือ การออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลัง เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงที่จะพยุงข้อต่อไม่ให้เคลื่อนมากขึ้น ถ้าระดับความรุนแรงถึงระดับ 3-4 โอกาสการรักษาให้หายขาดนั้นค่อนข้างน้อย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เรนโบว์ อโรคายา (Rainbow Arokaya)

Leave a Comment

Start typing and press Enter to search